การต่อรองราคาสำหรับงานก่อสร้าง / งานวิศวกรรม (หลักสูตร 2 วัน) / Price Negotiation for Construction , Engineering work
-
ความสำคัญ
นักจัดซื้อที่มิใช่วิศวกรหรือมิได้เรียนมาทางด้านก่อสร้างนั้น จะต่อรองราคางานก่อสร้าง
งานต่อเติมปรับปรุงอาคารสถานที่ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรนั้นไม่ยากเลย ถ้านักจัดซื้อทราบตั้งแต่
หลักการพื้นฐานของการเจรจาต่อรอง/เทคนิคการเตรียมตัวและการเลือกผู้เจรจาให้เหมาะกับงาน
การเลือกประเภทงานประมูล/การออกแบบขอบเขตงาน/สัญญาที่เหมาะสม ประกอบกับการเพิ่มเติมความรู้
หลักการพื้นฐานของการประเมินราคางานแต่ละประเภท เช่น งานไฟฟ้า งานปูน งานท่อ ว่ามีแนวคิดโครงสร้าง
การประเมินอย่างไร ทั้งแบบราคาต่อหน่วยและแบบการถอดปริมาณงาน พร้อมกับวิธีหาแหล่งข้อมูลวัสดุ
หรือแม้แต่การประเมินจากสูตรสำเร็จ เช่น งานต่อเติมอาคาร งานทาสีเป็นตารางเมตร เป็นต้น
จากนั้นเพียงนำความรู้พื้นฐานเหล่านี้มาวิเคราะห์การเสนอราคาของผู้รับเหมา หรือเทียบราคาดังกล่าว
จากราคากลาง เท่านี้การต่อรองราคาของนักจัดซื้อก็จะสมเหตุสมผลและเป็นการต่อรองราคา
อย่างมีประสิทธิภาพ และในท้ายที่สุดการทำงานสมัยใหม่ในยุคนี้ต้องอาศัยความรู้เพิ่มเติมใน
การวางแผนงาน/กำหนดกลยุทธ์ /การวัดผล ร่วมกับการใช้เครื่องมือสมัยใหม่เข้ามาช่วยให้ผลงาน
มีประสิทธิผลอย่างเหนือชั้นอีกด้วย
การสัมนานี้จะเป็นการบรรยาย สลับกับทำ Workshop และยกตัวอย่างจากงานจริง
เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถนำไปประยุต์ใช้งานได้ โดยจะเริ่มตั้งแต่การปูพื้นฐานทักษะ/การเตรียมตัวในการ
ต่อรองราคา ไปจนถึงความรู้/เทคนิคเฉพาะทางการประเมิน/การต่อรอง การวางแผน/วัดผล
และการวางแผนกลยุทธ์
หัวข้อการบรรยาย และ Workshop หลักสูตร 2 วัน
วันที่ 1
1. พื้นฐานการเจรจาต่อรอง (แนวคิด/บุคลิก/การเตรียมการ)
2. การเขียนข้อกำหนด (TOR) และพื้นฐานความเข้าใจ สำหรับการประมูลงาน
3. ประเภทของงานประมูล และการเลือกใช้
4. หลักค้ำประกันประเภทต่างๆ
5. สัญญางานก่อสร้าง งวดงาน/การชำระเงินในงานก่อสร้าง
6. หลักและโครงสร้างการประเมินราคา
7. แนวคิดการจัดซื้อแบบ EPC (Engineering/Procurement/Construction – Turnkey Project)
8. การวางแผนจัดซื้อ จัดจ้างของโครงการ (Procurement Project Timeline)
9. แนวคิดการประเมินราคาค่าก่อสร้างเพื่อจัดทำงบประมาณ (Cost Plan)
10. เจาะลึก BOQ (Bill of Quantity)
วันที่ 2
1. ค่ากำไร-Overhead Profit/ ค่าเตรียมการ-Preliminary/ ค่า “F” และ ค่า “K”
(ราคาของงานราชการ)
2. การหาราคาแบบราคาต่อหน่วย เช่น ราคาต่อตารางเมตร และแหล่งราคา/แบบถอดปริมาณ
งาน และแหล่งราคา (วัสดุ และค่าแรง)/การประเมินค่าแรงจากการทำงานจริง
ของช่าง/เครื่องจักรกลในงานก่อสร้าง (ซื้อ/เช่า)
3. แนวคิดการกำหนดราคางานก่อสร้างแบบ Activity Base Costing (Cost Plus)
4. แนวทางการต่อรองราคาโดยใช้เกณฑ์ด้านเทคนิค และราคา – AHP
5. วิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering)/งานลด-งานเพิ่ม (Variance Order)
6. แนวคิดการออกแบบตามงบประมาณ และ On Shelf Material List
7. ระบบการประมูลงาน/การเสนอราคา สมัยใหม่ (E-Bidding/E-Auction/E-Catalog)
8. กลยุทธ์การต่อรองราคา/การบริหารคู่ค้า (Partnership Management)
9. การวัดผลการดำเนินการสำหรับงานจัดซื้อวิศวกรรม (KPI / OKR)
10. แหล่งข้อมูล/ฐานข้อมูลในการประเมินราคาแต่ละประเภท
วิทยากร
คุณปัลลพ สัจจรักษ์
(B.Eng, Msc.IT, MBA )
รองกรรมการผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ บมจ.อนันดา ดีเวลอปเม้นท์
ประสบการณ์:
- ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ บริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่ ด้านอุตสาหกรรมเกษตร
- ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ อุตสาหกรรมโทรคมนาคม การขนส่งทางราง และอุตสาหกรรมเกษตร
- วิศวกรโครงการ ประมูลและการประเมินราคาระบบท่อและโครงสร้าง
- หัวหน้าทีมงานออกแบบระบบ ERP ด้านงานจัดซื้อ/คลังพัสดุ (SAP-MM)
กำหนดการสัมมนา
อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา
7,800+VAT546 = 8,346 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 234 บาท) |
ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200% มอบประกาศนียบัตร Certificate of Attendance ให้กับผู้เข้าสัมมนา |