ลดการฉ้อโกงและลดความเสี่ยงทางการเงิน ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
-
Buyer and Seller's financial Risk Reduction
ความสำคัญ
งานการเงินสำหรับผู้ประกอบการเกี่ยวซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ ตามแนวปฏิบัติปกติไม่พอ
เสียแล้ว เพราะแต่ละฝ่ายจะหาทางแฝงข้อได้เปรียบไว้ในข้อตกลงและเงื่อนไขอยู่เสมออีกทั้งปัญหา
อันเนื่องมาจากความผันผวนของเรื่องที่เกี่ยวกับเงินตรา ความเสี่ยงและการฉ้อโกงในเรื่องการชำระเงิน
ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญของการบริหารองค์กรให้เกิดความแน่นอนต่อรายได้หรือต้นทุนของการซื้อขาย
เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เข้าใจถึงความเสี่ยง-การฉ้อโกงและปัญหาทางการเงินในธุรกิจ
การซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศในแง่มุมต่างๆ และนำไปใช้ในการทำสัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทางสถาบันฯจึงได้เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินในระบบค้าระหว่างประเทศมาถ่ายทอดประสบการณ์
และความรู้ ดังรายละเอียดในหัวข้อสัมมนา
หัวข้อสัมมนา
1. ความเสี่ยงจากส่วนผสมการตลาดไม่สอดคล้องกับการจัดซื้อระหว่างประเทศ
2. ความเสี่ยงในข้อตกลงในการชำระเงิน
3. วงเงินสินเชื่อมีไม่ครบ 6 แบบ
4. การรมัดระวังการฉ้อโกง (Fraud)จากช่องโหว่ของกฎระเบียบการชำระเงิน
5. ความเป็นอิสระของเอกสารที่นำมาใช้เป็นฐานเริ่มสัญญา
6. ใช้ตราสาร L/C อย่าให้อำนาจชำระเงินอยู่ในมือผู้ซื้อไม่ควรเรียกร้องเอาเอกสารที่ Applicant ออก
7. ผู้ซื้อเสี่ยงจาก Advance Payment ผู้ขายไม่ยอมส่งสินค้า แก้อย่างไรดี
8. ผู้ขายป้องกันความเสี่ยงจากการขายเงินเชื่อ Open Account ด้วย BPO:New Supply Chain Finance
9. ปัญหาจากดอกเบี้ยในการตัดสินใจซื้อขายของบางประเทศ (Problem of Interest Charges)
10. ความเสี่ยงจากการทุจริตฉ้อโกงของพนักงานหรือผู้บริหาร (Internal Corruptions)
11. ความเสี่ยง Incoterms ไม่สอดคล้องกับ ความต้องการในสัญญาขนส่งถึงปลายทางของผู้ซื้อ
12. แก้ปัญหาค่าเช่าคลัง และสินค้าเสียหาย เมื่อพาหนะมาถึงท่าเร็วกว่า Shipping Documents
13. เวลาในการชำระเงิน แบบ UPAS หรือ as if drawn at sight ต้องจัดการต่างจาก a sight ธรรมดา
14. ความเสี่ยงทางการตลาดเกี่ยวกับ Seller's Usance Risk/Interest and Discount Rates
15. อำนาจในการชำระเงิน และ L/C เทียม (Pseudo L/C) ผู้ขายควรหลีกเลี่ยง
16. ผู้รับความเสี่ยงภัยในการประกันภัยขนส่งสินค้า และผู้รับประโยชน์
17. จำนวนเงินที่เหมาะแก่การคุ้มความเสี่ยง วันที่เริ่มคุ้มครอง และ Clauses ที่ต้องระบุในเอกสาร
18. ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องจัดการด้วยสัญญา Spot-Forward & Option Contract
19. Correspondent Bank ที่จะออกตราสารการเงิน ตั๋วแลกเงิน หรือหนังสือค้ำประกัน
20. การป้องกันผู้ซื้อขอรับเอกสารไปออกสินค้าดดยไม่กลับมาชำระเงิน
21. ปัญหาจาก Country Risks, Political Risk, Counter Party Risks, Force Majeure Risks
และระวังการลงโทษและปิดล้อมทางเศรษฐกิจ (Embargo and Boycott) ของบางประชาคม
22. การคำนวนราคาเสนอซื้อขาย ECS: Export Costing Sheet
23. ลดปัญหาการออก Invoice มีราคามากกว่า L/C และการเลี่ยงความผิดจาก Excess of Drawing
24. ปฏิบัติอย่างไรกับ Invoice value: Discount, Reduction ad advance amount deducted
25. วิธีคำนวนวันครบรอบกำหนด ตั๋วแลกเงิน และวิธีการสั่งจ่าย
(B/E Maturity Date and How is Drawn)
26. ผลดีและผลเสียจากการระบุให้ทยอยส่งเป็นงวด
(Effective of Amount under instalment schedule)
27. Shipping Marks ที่ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการลักขโมย
28. การแยกราคาให้ชัด (Break Down Value) ในบัญชีราคาสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงการ Declare value
29. การทำคำรับรองให้รวดเร็ว ด้วยถ้อยคำ Self-Certification ที่ถูกต้อง
30. AEO: Authorized Economic Operator ช่วยให้ได้รับความสะดวกจากศุลกากร
31. อัตราร้อยละที่ต้องบวกเพิ่มในการส่งออกและนำเข้ามาจากกฎระเบียบใดกันแน่
32. การทำประกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับเงินค่าสินค้าส่งออก (Export Insurance)
33. ผลักภาระค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมธนาคาร (Banking Charges and Commission)
* ถามตอบตลอดการสัมมนา *
วิทยากร
คุณอาวุธ โพธิ์เล็ก
- อดีตผู้ช่วยรองประธาน ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ ฝ่ายการต่างประเทศ
- อาจารย์และที่ปรึกษาด้านการค้าต่างประเทศและระเบียบศุลกากร
- กรรมการบริหาร Exim Education Group
- ผู้แต่งตำราด้านการค้าต่างประเทศ
กำหนดการสัมมนา
อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา
3,900+VAT273 = 4,173 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 117 บาท) |
ยิ่งอบรมมาก ยิ่งเสียภาษีน้อย ค่าอบรมสามารถลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นถึง 200% ทุกหลักสูตรจะมอบประกาศนียบัตร Certificate of Attendance ให้กับผู้เข้าสัมมนา |