การจัดทำบัญชีสินทรัพย์ถาวร และค่าเสื่อมราคา (Fixed Assets & Depreciation)
-
ความสำคัญ
สินทรัพย์ถาวรที่มีอยู่ใช้เพื่อประโยชน์ของกิจการ มูลค่าของสินทรัพย์ย่อมลดลงจากวันที่ซื้อสินทรัพย์ มีการเสื่อมสภาพตามอายุและลักษณะการใช้งาน ประโยชน์และประสิทธิภาพลดลง กิจการจึงต้องเฉลี่ยราคาทุนของสินทรัพย์ตามอายุการใช้งาน เพื่อคำนวณเสื่อมของสินทรัพย์ถาวรในแต่ละงวดบัญชี โดยสินทรัพย์ถาวรที่นำมาคิดค่าเสื่อมราคาเป็นสินทรัพย์ประเภทที่มีตัวตน (Tangible Fixed Assets) อาทิ อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง ยานพาหนะ โดยจะตัดเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด ยกเว้น ที่ดิน โดยกิจการจะต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาในแต่ละงวดบัญชี คือไม่สามารถตัดเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน ณ ปีที่ซื้อสินทรัพย์ถาวร
หัวข้อสัมมนา
1. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (Property, Plant and Equipment / TAS 16, NPAEs 10)
2. การด้อยค่าของสินทรัพย์ (Impairment of Assets / TAS 36)
3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Asset / TAS 38, NPAEs 11)
4. การวางระบบการบริหารบัญชีสินทรัพย์และการวางระบบควบคุม
- การตั้งรหัสสินทรัพย์
- การจัดทำบัตรสินทรัพย์
- การตรวจนับสินทรัพย์
- สินทรัพย์ที่มีราคาต่ำแต่ปริมาณมาก
- การโอนสินทรัพย์ระหว่างฝ่ายหรือระหว่างบริษัท
5. มูลค่าของสินทรัพย์และการตีราคาสินทรัพย์
- ราคาทุนของสินทรัพย์ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- การคำนวณต้นทุน การกำหนดประเภท ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
- การได้มาซึ่งสินทรัพย์จากการเช่าซื้อ ลิสซิ่ง ผ่อนชำระ
- การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่คล้ายกันแตกต่างกัน
- การแลกซื้อสินทรัพย์ เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี
- มูลค่าของสินทรัพย์การตีราคาสินทรัพย์เพิ่มขึ้น
- ถ้ามีการซ่อมบำรุงจะถือเป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย
- กรณีซื้อสินทรัพย์เป็นเงินตราต่างประเทศจะคำนวณอย่างไร
- วิธีการและการเริ่มคิดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่สร้างขึ้นเอง
- แนวปฏิบัติเมื่อเกิดการด้อยค่าและการวัดมูลค่าสินทรัพย์
6. หลักเกณฑ์ในการกำหนดว่าค่าใช้จ่ายใดถือเป็นสินทรัพย์ที่ต้องคิดค่าสึกหรอหรือคิดค่าเสื่อมราคา
และหลักเกณฑ์ใดที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีทั้งจำนวน ตามหลักบัญชีและภาษีอากร
- ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม เพื่อซื้อสินทรัพย์
- การนำสินทรัพย์เข้ามาใช้ในกิจการ
- การจำหน่ายสินทรัพย์และการทำลายสินทรัพย์
- ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสินทรัพย์หรือเคลื่อนย้ายสินทรัพย์
7. รายจ่ายต้องห้ามของรถยนต์นั่งหรือรถโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 315
8. หลักเกณฑ์ของสรรพากร กรณีการคิดค่าเสื่อมราคา ค่าสึกหรอ ด้วยวิธี Double Declining Balance Method
9. การบันทึกบัญชีและการเสียภาษีกรณีขายสินทรัพย์ที่ยังหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาไม่หมด
10. สิทธิพิเศษเพื่อประหยัดภาษีจากกฎหมายใหม่ในการคิดค่าสึกหรอ
- ค่าเสื่อมราคาของคอมพิวเตอร์
- เครื่องบันทึกการเก็บเงิน
- เครื่องจักรที่ใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนา
11. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จากดอกเบี้ยการซื้อสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ
วิทยากร
อาจารย์สมชาย วนารักษ์พิทักษ์ (TA)
ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (TAX AUDITOR)
ประสบการณ์:
รองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)
ที่ปรึกษาและวางระบบบัญชี ในการบริหารงานด้านบัญชีมากกว่า 25 ปี
กำหนดการสัมมนา
รุ่นที่ 131 |
วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 132 |
วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 133 |
วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 134 |
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 135 |
วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 136 |
วันพุธที่ 24 ธันวาคม 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา
2,400+VAT168 = 2,568 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 72 บาท) |
ห้ามบันทึกภาพ เสียง วีดีโอ แชร์หรือนำไปเผยแพร่ |