การบันทึกภาษีเงินได้ ตาม TAS 12 และ NPAEs บทที่ 15 (INCOME TAXES)
-
วัตถุประสงค์
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 และ NPAEs บทที่ 15 (ใหม่ล่าสุด)
มีออกมาเพื่อกำหนดวิธีการปฏิบัติทางบัญชีสำหรับภาษีเงินได้ ที่เกิดขึ้นจากผลกระทบจากการรับรู้ของ
หลักการบัญชีภาษีเงินได้ทั้งในรอบบัญชีปัจจุบันและในอนาคตจาก
1. การได้รับประโยชน์ในอนาคตของมูลค่าตามบัญชีสินทรัพย์และการจ่ายชำระตามบัญชีหนี้สิน
ที่รับรู้ในงบแสดงฐานะการเงิน ของกิจการ
2. รายการและเหตุการณ์อื่นของงวดบัญชีปัจจุบันที่รับรู้ในงบการเงินของกิจการ
หัวข้อสัมมนา
1. ความหมายของภาษีเงินได้ของกิจการได้แก่กิจการประเภทใดบ้าง
2. การรับรู้รายได้และรายจ่าย เพื่อคำนวณกำไร(ขาดทุน) ทางบัญชี ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
3. การรับรู้รายได้และรายจ่าย เพื่อคำนวณกำไร(ขาดทุน) เพื่อเสียภาษี ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
4. ความแตกต่างระหว่าง กำไร(ขาดทุน) ทางบัญชี และ เพื่อเสียภาษี ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
5. ค่าใช้จ่าย(รายได้) ภาษีเงินได้ หมายถึงอะไร
6. หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หมายถึงอะไร เกิดขึ้นจากอะไร
7. สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หมายถึงอะไร เกิดขึ้นจากอะไร
8. ผลแตกต่างชั่วคราว และผลแตกต่างถาวรคืออะไร ความจำเป็นในการแยกประเภทผลแตกต่าง
9. ฐานภาษีเงินได้ของสินทรัพย์ หมายถึงอะไร และตัวอย่างในการคำนวณหาฐานภาษี
10. ฐานภาษีเงินได้ของหนี้สิน หมายถึงอะไร และตัวอย่างในการคำนวณหาฐานภาษี
11. การรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้และสินทรัพย์ภาษีเงินได้ของงวดบัญชีปัจจุบัน
12. การรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี และสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ส่งผลให้เกิด
ผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษีในกรณีใดบ้าง
13. การบันทึกรับรู้สินทรัพย์ด้วยมูลค่าตามบัญชี ทำให้เกิดผลแตกต่างชั่วคราวต้องรับรู้หนี้สิน
ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี
14. ผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษีมีอะไรบ้าง
15. ผลขาดทุนสะสมยกมา 5 รอบบัญชีตามประมวลรัษฎากร หรือ เครดิตภาษี (เช่น ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย
และภาษีเงินได้จ่ายล่วงหน้า) ที่ยังไม่ได้ใช้ ต้องบันทึกรับรู้ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีอย่างไร
16. การวัดมูลค่าภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีต้องใช้อัตราภาษีใดในการคำนวณ ในกรณีที่มีหลายอัตรา
ภาษีต้องใช้เกณฑ์ใดในการวัดมูลค่า
17. การวิเคราะห์หาภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากงบแสดงฐานะการเงินของกิจการและ
เหตุการณ์อื่นจากกิจการ
17.1 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 17.2 ลูกหนี้การค้า
17.3 ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าทางการเงิน 17.4 สินค้าคงเหลือ
17.5 เงินให้กู้ยืม 17.6 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
17.7 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 17.8 สัญญาเช่าทางการเงิน
17.9 สัญญาเช่าดำเนินงาน 17.10 หนี้สิน
17.11 ผลขาดทุนสะสมตามประมวลรัษฎากร
วิทยากร
อาจารย์สมชาย วนารักษ์พิทักษ์ (TA)
ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากร (TAX AUDITOR)
ประสบการณ์:
รองผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)
ที่ปรึกษาและวางระบบบัญชี ในการบริหารงานด้านบัญชีมากกว่า 25 ปี
กำหนดการสัมมนา
อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา
2,400+VAT168 = 2,568 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 72 บาท) |
by ZOOM พิเศษสุด!...สำหรับบุคคลลธรรมดา เหลือเพียง 2,000 บาท (ก่อน VAT) |