Green Procurement / การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
-
ความสำคัญ
การจัดซื้อไม่เพียงแต่จะพิจารณาคุณภาพ ราคา และการส่งมอบ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างทั่วๆไป แต่จะพิจารณาถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังหมดอายุการใช้งาน เป็นการลดปัญหาที่เกิดจากการใช้สินค้าและบริการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายจัดซื้อควรต้องเรียนรู้หลักการ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับคู่ค้าธุรกิจ หรือ Supplier เพื่อสร้างเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ความเป็นธุรกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน ดังนั้นพนักงานหรือผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้แนวทางในการดำเนินการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เป็นมาตรฐาน
การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) เกี่ยวข้องโดยพื้นฐานกับการ ลดและเลิกใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย การพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการร่วมมือในเชิงรุกกับพันธมิตรทางการค้าในการริเริ่มที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม
หลังจากการใช้ข้อกำหนด RoHS ของสหภาพยุโรปในเดือนกรกฎาคมปี 2006 กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมภายในอุตสาหกรรมการผลิตได้รับการปรับปรุงทั่วโลก และความสำคัญที่เพิ่มขึ้นถูกรวมไว้ภาระผูกพันทางสังคมของบริษัทการผลิต ในการติดตามกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม หลายๆองค์กรจึงกำหนดเป็น "นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว(Green Procurement Policy)เพื่อสื่อสารกับลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และพนักงานในองค์กร
วัตถุประสงค์
- สามารถนำเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างได้
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมและองค์กรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความตระหนักในด้านการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- เพื่อให้เกิดการสร้างตลาดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หัวข้ออบรม
1. ความสำคัญของการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Environmentally friendly procurement)
2. ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมต่อภาคการผลิตและบริการ
3. ระเบียบปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม กับการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4. ภาพรวมระบบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
“ Environmentally friendly procurement ”
- Life Cycle - การอนุรักษ์พลังงาน - ระบบบริหารจัดการ
5. ข้อกำหนด และแนวทางในการเขียนคู่มือจัดซื้อจัดจ้างแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Environmentally friendly procurement)
6. การเลือกซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- สินค้าฉลากสีเขียว - หมวดหมู่สินค้า/บริการที่ควรรู้
7. แนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
8. การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมผ่านคู่ค้าทางธุรกิจ
(Greening the Supply Chain)
9. ประโยชน์ของ Green Procurement
10. Workshop / ถาม-ตอบ / Pre-Test Post-Test
วิทยากร
คุณวาณี โฉมระ (เรนนี่)
ปริญญาโท : การจัดการระหว่างประเทศ
ปริญญาตรี : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ปริญญาตรี : บริหารทรัพยากรมนุษย์
ประสบการณ์ :
จป. วิชาชีพ บริษัท เอส เจ ซัพพลาย แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
จป. วิชาชีพ บริษัท โชคชัยพิบูลย์ จำกัด
ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล, ผู้จัดการคลังสินค้า, Safety officer Document control
บริษัท สเปเชี่ยลตี้ โปรดักส์ จำกัด
Safety officer บริษัท คอนกรีต ชลบุรี จำกัด (มหาชน)
วิทยากร
คุณวาณี โฉมระ (เรนนี่)
กำหนดการสัมมนา
รุ่นที่ 5 |
วันอังคารที่ 4 มีนาคม 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 6 |
วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 7 |
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 8 |
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 9 |
วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 10 |
วันจันทร์ที่ 29 กันยายน 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 11 |
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
รุ่นที่ 4 |
วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09:00 - 16:00 น. ZOOM (เต็มวัน) |
อัตราค่าเข้าร่วมการสัมมนา
3,300+VAT231 = 3,531 (ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 99 บาท) |
ห้ามบันทึกภาพ วีดีโอ แชร์หรือนำไปเผยแพร่ |